ขาย น้ำยาทำความสะอาด , ความสะอาด Online , รับจ้างผลิต น้ำยา ทำความสะอาด , ความสะอาด รับประกันคุณภาพ ,ความสะอาด , ความสะอาด สั่งได้ทุกวัน
ตะกร้าสินค้า (0)

ระบบสมาชิก

Username :
Password :
สถานะ :
 
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน

Information

ข้อมูลเจ้าของร้าน

ขาย น้ำยาทำความสะอาด , ความสะอาด Online , รับจ้างผลิต น้ำยา ทำความสะอาด , ความสะอาด รับประกันคุณภาพ ,ความสะอาด , ความสะอาด สั่งได้ทุกวัน

บทความที่น่าสนใจ

หมวดสินค้าทั้งหมด

แจ้งการชำระเงิน ของร้าน ขาย น้ำยาทำความสะอาด , ความสะอาด Online , รับจ้างผลิต น้ำยา ทำความสะอาด , ความสะอาด รับประกันคุณภาพ ,ความสะอาด , ความสะอาด สั่งได้ทุกวัน ตรวจสอบพัสดุ ของร้าน ขาย น้ำยาทำความสะอาด , ความสะอาด Online , รับจ้างผลิต น้ำยา ทำความสะอาด , ความสะอาด รับประกันคุณภาพ ,ความสะอาด , ความสะอาด สั่งได้ทุกวัน แจ้งปัญหาเกี่ยวกับระบบร้านค้า ขาย น้ำยาทำความสะอาด , ความสะอาด Online , รับจ้างผลิต น้ำยา ทำความสะอาด , ความสะอาด รับประกันคุณภาพ ,ความสะอาด , ความสะอาด สั่งได้ทุกวัน

มารู้จัก กรรมวิธีผลิตน้ำยาปรับผ้านุ่มกันดีกว่า

มารู้จักกรรมวิธีการผลิต น้ำยาปรับผ้านุ่มกันดีกว่า

ปัจจุบันนี้ น้ำยาปรับผ้านุ่ม ถือเป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งในกระบวนการซักผ้า ถ้าซักผ้าครั้งใดไม่ได้ใส่น้ำยาปรับผ้านุ่มในกระบวนการซัก

จะมีความรู้สึกว่าผ้ามีกลิ่นอับ รีดยาก เวลาสวมใส่แล้วก้าวเดินจะมีความรู้สึกว่าผ้าลีบติดตัวหรือผ้าจะถูกดูด ผ้าไม่มีความนุ่มฟู สารพัดกับปัญหาเรื่องผ้า

เพราะฉนั้น วันนี้เราจึงจะมาดูกันว่าในน้ำยาปรับผ้านุ่ม ส่วนใหญ่เขาใส่อะไรกันบ้าง ทำไมถึงทำให้ผ้านุ่มฟู และแก้ปัญหาเรื่องต่างๆได้ดีเยื่ยม

         ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้ปรับสภาพของผ้า  และทำให้ผ้านุ่มขึ้นนั่นก็คือ น้ำยาปรับผ้านุ่ม (fabric softener) น้ำยาปรับผ้านุ่มถูกนำมาใช้ตามบ้านเรือนนานกว่า 60 ปีแล้ว โดยน้ำยาปรับผ้านุ่มสามารถแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ 

                      (1) ชนิดที่ใช้ภายหลังการซักผ้าโดยผสมกับน้ำสุดท้ายที่ใช้ล้างผ้า  

                      (2) ชนิดที่ใช้ผสมกับผงซักฟอกโดยใส่ขณะกำลังซักผ้าและ

                      (3) ชนิดที่ใช้กับตู้อบผ้า 

น้ำยาปรับผ้านุ่มที่ใช้นอกจากจะให้ความนุ่มแล้ว  ยังช่วยรักษาคุณสมบัติทางกายภาพบางอย่างให้กับเสื้อผ้าอีก  โดยไปเคลือบเส้นด้าย (yarn) และเส้นใย (fibers) ด้วยสารหล่อลื่น (lubricants) และสารคงความชื้น (humectants) ทำให้รู้สึกว่าผ้าลื่น นุ่มและมีความยืดหยุ่นจากการหล่อลื่นภายใน (internal lubrication) เส้นใย (fibers) ให้ความรู้สึกที่ดีเวลาสัมผัสเสื้อผ้า  อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้น้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในประเทศทางตะวันตกคือ ความสามารถในการลดประจุไฟฟ้าสถิตบนผ้าใยสังเคราะห์ซึ่งเกิดจากการเสียดสีกันระหว่างเส้นใย และยังทำให้เสื้อผ้ามีกลิ่นหอมเพิ่มมากขึ้นด้วย

สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่ม (fabric softener formulations) 

              สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มควรจะประกอบไปด้วยสารต่างๆ ดังต่อไปนี้

              1. สารออกฤทธิ์ที่ทำให้ผ้านุ่ม  น้ำยาปรับผ้านุ่มแบบธรรมดาจะประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ประมาณ 3-7 %  สารออกฤทธิ์ที่ใช้ทำน้ำยาปรับผ้านุ่มมีให้เลือกหลายชนิด  ที่นิยมใช้กันแพร่หลาย เช่น สารประกอบควอเทอนารี แอมโมเนียม (quaternary ammonium compound) (รูปที่ 2) ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวที่มีประจุบวกที่ใช้ทำน้ำยาปรับผ้านุ่ม ได้แก่ ไดทาโลว ไดเมทิล แอมโมเนียม คลอไรด์ (ditallow dimethyl ammonium chloride, DTDMAC  ซึ่งมีชื่อเรียกทางการค้าว่า “Arquad 2HT-75”) สารนี้ให้ผลดีเรื่องความนุ่ม (softening) ช่วยในการต้านไฟฟ้าสถิต  และมีราคาถูก แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติและเป็นพิษกับสัตว์น้ำ จึงทำให้สารชนิดนี้ไม่ได้รับความนิยมทั้งในทวีปยุโรปและอเมริกา

              2. ตัวทำอิมัลชัน (emulsifiers)  สารออกฤทธิ์ชนิดนี้สามารถใช้ร่วมกับสารอื่นๆ ที่เป็นตัวเสริมสารออกฤทธิ์และเป็นตัวทำอิมัลชันให้สารออกฤทธิ์  สารที่ช่วยเสริมสารออกฤทธิ์มีหลายชนิด เช่น กรดไขมันและสารที่ไม่มีประจุ (nonionics) เช่น แอลกอฮอล์อีทอกซิเลต (alcohol ethoxylate :C14-C15 alcohol-7EO)  หรือกลีเซอรอล โมโนสเตียเรต (glycerol monostearate) สารที่ไม่มีประจุช่วยให้สารออกฤทธิ์กระจายตัวได้ดีขึ้นขณะใส่ลงไปในน้ำล้างสุดท้าย  ช่วยลดปัญหาในกระบวนการผลิตและลดข้อเสียเกี่ยวกับความสามารถในการดูดน้ำของผ้าที่ใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นประจำ

              3. สารฆ่าเชื้อโรค  น้ำยาปรับผ้านุ่มมีสารออกฤทธิ์ที่มีประจุบวก ซึ่งมีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterials) ได้ แต่ก็สามารถช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดเช่นกัน   การเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรานี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่สามารถสังเกตเห็นได้จากกลิ่นเหม็นที่เกิดขึ้นหรือจากการแยกชั้น  ดังนั้นจึงต้องใส่สารฆ่าเชื้อในน้ำยาปรับผ้านุ่มเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยาปรับผ้านุ่มเสีย  การใส่สารฆ่าเชื้อในน้ำยาปรับผ้านุ่มนี้ไม่ได้มีผลเสียต่อประสิทธิภาพของน้ำยาปรับผ้านุ่มเลย

              4. อิเล็กโทรไลต์ (electrolytes) ส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีลักษณะข้นเกินไป สามารถปรับให้เหลวลงได้โดยใช้สารพอลิเอทิลีน ไกลคอล (Polyethylene glycol) น้ำกระด้างหรือเกลือ เช่น โซเดียมคลอไรด์(sodium chloride) ซึ่งเป็นอิเล็กโทรไลต์ แต่ปริมาณอิเล็กโทรไลต์ที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการแยกชั้นของน้ำยาปรับผ้านุ่มได้

              5. สารที่ใช้ปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH)  เมื่อค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำยาปรับผ้านุ่มสูงกว่า 4.0-4.5 ให้เติมกรดแร่เจือจางหรือกรดอินทรีย์จำนวนเล็กน้อยเพื่อปรับให้ได้ค่าความเป็นกรด-ด่าง ตามความต้องการ

              6. น้ำ  จะถูกเติมลงในส่วนผสมของน้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีความข้นมากๆ โดยใช้น้ำที่ไม่มีการปนเปื้อนของแร่ธาตุ (demineralised water) 

สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มสูตรที่ 1

 

สารเคมีที่ใช้ (สูตรที่ 1)

ปริมาณสารที่ใช้ (%)

สารออกฤทธิ์ที่มีประจุบวก ไดทัลโล ไดเมทิล แอมโมเนียม คลอไรด์ (ditallow dimethyl ammonium chloride, DTDMAC) 75%

3-7

น้ำหอมและสี

ตามความต้องการ

สารต่อต้านเชื้อรา (anti-microbial agent) และสารอื่น เช่น อิเล็กโทรไลต์

ตามความต้องการ

กรดสำหรับปรับค่าความเป็นกรด-ด่างให้ได้ประมาณ 4-6

ตามความต้องการ

น้ำที่กำจัดประจุออกไป

ใส่ให้ครบ 100

 

สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ใช้ส่วนผสมต่างกัน (สูตร A-D)

สารเคมีที่ใช้

สูตร A

สูตร B

สูตร C

สูตร D

ระดับความเข้มข้น

(%)

(%)

(%)

(%)

DSDMAC

2-3.5

3-4

4-6

4-6.5

อิมมิดาโซลีน (imidazoline)

4-5.5

0.5-3

-

-

ไดเอทานอลเอไมด์ (diethanolamide)

-

-

0.5-1

-

กรดสเตียริก (stearic acid)

-

0.3-0.8

-

1-2

ซิลิโคน (silicone)

0.1-0.3

0.1-0.3

0.02-0.05

-

กลีเซอรอลเอสเทอร์ (glycerol ester)

-

0.5-1.5

-

-

พอลิเอทอิลีนไกลคอล (polyethylene glycol) ใช้ปรับความข้นเหลว

1-2

-

-

-

น้ำหอม สารกันเสีย สี น้ำ

เติมให้ครบ 100

 สูตรน้ำยาปรับผ้านุ่มสูตร E และสูตร F

สารเคมีที่ใช้

สูตร E

สูตร F

ระดับความเข้มข้น

(%)

(%)

สารออกฤทธิ์

2.5-4.0

4.0-8.5

Nonionic

-

0-0.2

สี

มีได้

มีได้

สารเพิ่มความขุ่น

0-1.0

0-1.0

น้ำหอม

0.1-0.5

0.1-0.5

สารฆ่าเชื้อ

0.1

0.1

แอลกอฮอล์

มีได้

มีได้

น้ำ

ตามความต้องการ

ตามความต้องการ

การตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาปรับผ้านุ่มหลังการผลิต (testing of fabric softener)

              น้ำยาปรับผ้านุ่มที่ผลิตเสร็จแล้วจะต้องตรวจสอบคุณภาพสินค้าในทุกด้านเช่นเดียวกับการตรวจสอบสินค้าชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคงทนต่อการเก็บและความคงทนของน้ำหอมที่ใช้ในน้ำยาปรับผ้านุ่ม  การตรวจสอบคุณภาพ โดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้

              1. ข้อมูลสินค้า  

                    -  ลักษณะสินค้า : เป็นของเหลว (ตัวอย่างของน้ำยาปรับผ้านุ่ม ดังแสดงในรูปที่ 3)

                    -  ความเป็นกรด-ด่าง  : 4.0 - 6.0 หรือแล้วแต่ต้องการ

                    -  สี  : ฟ้าขุ่นหรืออื่นๆ 

                    -  กลิ่น : ดอกไม้

                    -  ความถ่วงจำเพาะ (specific gravity) : ประมาณ 0.998 

                    -  จุดติดไฟ (flash Point) : ไม่ติดไฟ 

         บทความนี้ คงจะฃ่วยให้ผู้ใช้พอมีความเข้าใจมากขึ้นสำหรับน้ำยาปรับผ้านุ่ม คุณสมบัติ การใช้ การผลิต รวมถึงมั่นใจในบริษัทผู้ผลิต

ที่คัดสรรผลิตภัณฑ์มาให้ตามเกณฑ์และข้อกำหนดข้างบนนี้

เราขอแนะนำผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่ม "เวฟ" ช่วยทำให้ผ้านุ่ม ลดกลิ่นอับชื้น แม้ตากในที่ร่ม หอมนานกว่าเดิม เพิ่มตัวจับล็อคกลิ่นให้หอมสดชื่นตลอดการสวมใส่

Tel/Line : 089-7841136  087-5662623

 

ร้านค้าออนไลน์ Copyright (c) 2009-2012 By Plazacool.com All Rights Reserved. Query time : 0.0115 sec